Latest Entries »

  

ระบบข้อมูลข่าวสารขององค์กร

               ในระบบโลกาภิวัฒน์   เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทในทุกสาขาอาชีพการติดต่อสื่อสาร
               ในทุกๆ ด้านสามารถติดต่อกันได้ตลอดเวลาไม่จำกัดด้วยระยะทางทำให้เกิดการแข่งขันกันอย่างปราศจากขอบเขต ดังนั้น ข้อมูลข่าวสารจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ข้อมูลที่ดีต้องมีการจัดการข้อมูลได้รวดเร็ว ง่าย สะดวก โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย
               ระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพก็เช่นเดียวกัน ได้พัฒนาในด้านของความครอบคลุมในการรวบรวมข้อมูลข่าวสารที่สำคัญ มาเป็นระยะเวลายาวนานโดยปรับระบบให้ทันกับยุคโลกาภิวัฒน์ โดยเริ่มต้นจัดระบบงานข้อมูลข่าวสารสุขภาพตามข้อตกลงร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในกระทรวงสาธารณสุข  ตั้งแต่แผนพัฒนาการสาธารณสุข ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4  (พ.ศ. 2520-2524) จัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารสาธารณสุขกลาง องค์ประกอบของระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพในขณะนั้นมี 3 เรื่องได้แก่ ข้อมูลข่าวสารที่ต้องการ การไหลเวียนของ ข้อมูลข่าวสารและระเบียนและรายงาน จนถึงปัจจุบันในช่วงแผนพัฒนาการสาธารณสุข ฉบับที่  9 (พ.ศ.2545-2549) ได้พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยเพื่อเป็นการประหยัดเวลาในการจัดทำรายงาน ได้พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสาธารณสุขจากระบบการส่งรายงานเป็นระบบฐานข้อมูล จากสถานบริการเป็นรายบุคคล

ความสำคัญของข้อมูลข่าวสาร
             ระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ ในปัจจุบันมีจุดแข็งคือมีความชัดเจน ลดความซ้ำซ้อน ประหยัดงบประมาณ ในการจัดพิมพ์ ระเบียนและรายงาน มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้กว้างขวางยิ่งขึ้น ระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ จึงมีความจำเป็นต่อการระบุปัญหา ตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลสนับสนุน ควบคุมกำกับและประเมินประสิทธิผล ประสิทธิภาพ ของงานสาธารณสุขในทุกระดับ ลักษณะที่ดีของข้อมูลสารสนเทศ
1.    ต้องมีความเที่ยงตรง  
2.    ทันเวลาการใช้งาน
3.    ตรงตามความต้องการ
               ทุกระดับมีความต้องการข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจ ที่แตกต่างกันไป จึงมีการจัดระบบข้อมูลข่าวสาร กำหนดตัวชี้วัดสำหรับการประเมินผลที่แตกต่างกันไปในแต่ละระดับ ได้แก่ ระดับนโยบาย ระดับบริหารและระดับปฏิบัติการ
               กระทรวงสาธารณสุข หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบเกี่ยวกับระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ และเป็นศูนย์กลางการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลและสารสนเทศด้านสุขภาพ เพื่อการบริหารงานสาธารณสุข กำกับ ติดตามและประเมินผล ตลอดจนการสนับสนุนข้อมูลเพื่อการกำหนดนโยบายและวางแผนด้านสุขภาพ ได้แก่ กลุ่มข้อมูลข่าวสารสุขภาพ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ หน่วยงานเป้าหมายที่จัดเก็บข้อมูลข่าวสุขภาพ ได้แก่ สถานบริการทางการแพทย์ ทั้งภาครัฐและเอกชน  ตั้งแต่ระดับจังหวัด รพศ/รพท.รพช. จนถึงสถานีอนามัย  
        การตัดสินใจว่าจะจัดเก็บข้อมูลข่าวสารสุขภาพใดหรือไม่จะต้องมีกระบวนการพิจารณาอย่างรอบคอบระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลที่จะจัดเก็บนั้นต้องมีคุณค่าเพียงพอแก่การจัดเก็บ วิธีการจัดเก็บ การรายงาน การวิเคราะห์ ได้พัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมช่วยในการบริหารจัดการ และใช้ประโยชน์เมื่อได้รับข้อมูลนั้นมา ข้อมูลข่าวสารสุขภาพที่มีอยู่ในระบบจึงเป็นข้อมูลข่าวสารที่ต้องการเท่านั้น  
        
แหล่งที่มาของข้อมูลข่าวสารสุขภาพ
1.    แหล่งปฐมภูมิ (Primary Sources)   ได้แก่ การเก็บข้อมูลด้วยตนเอง อาจมาจาก
–    การจดทะเบียน  เช่น  การแจ้งเกิด  แจ้งตาย  การย้ายที่อยู่  
–    การแจงนับหรือการสำรวจโดยตรง   เช่น การสำรวจสภาวะสุขภาพของประชาชน  
–    ข้อมูลจากการส่งแบบสอบถามไปให้กรอก เป็นเฉพาะเรื่อง ๆ  
2.    แหล่งทุติยภูมิ  (Secondary  sources)  ได้แก่แหล่งที่ทำการเผยแพร่ข้อมูล  แต่ไม่ได้ทำ
การเก็บรวบรวมในขั้นแรกนั้นด้วยตนเอง หรือสถานที่ที่ยินยอมให้ข้อมูลแต่ผู้ต้องการใช้  ซึ่งเป็นวิธีที่ทุ่นค่าใช้จ่าย และเวลาได้มาก หากข้อมูลนั้นมีความครบถ้วนและตรงกับความต้องการ
        
การใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารสุขภาพ
             การนำข้อมูลที่จัดเก็บบันทึกเอง หรือนำมาจากแหล่งอื่นมารวบรวมประมวลผล นำเสนอ วิเคราะห์และแปรผล เพื่อนำไปประกอบการวางแผน กำหนดยุทธศาสตร์ กำหนดตัวชี้วัด  (KPI) กำหนดเป้าหมายในการประเมินผลการดำเนินงานสาธารณสุข และใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมกำกับการดำเนินงาน ข้อมูลจึงเป็นสิ่งจำเป็นและมีความสำคัญช่วยให้ความรู้ (Knowledge) ช่วยในการตัดสินใจ (Dicision  Making) ข้อมูลข่าวสารสุขภาพ อาจหมายถึงข้อมูล ข่าวสารทางการแพทย์และอนามัย ประกอบด้วย ข้อมูลสถานะสุขภาพ ข้อมูลสถานบริการ การให้บริการ ข้อมูลทรัพยากรสุขภาพ เพื่อการกำกับการดำเนินงานสำหรับหน่วยงานสาธารณสุขทั่วประเทศ รวมถึงข้อมูลด้านการเงิน การคลัง แต่ถึงอย่างไรความต้องการด้านสุขภาพก็ยังมีข้อมูลประกอบอื่นๆ  ที่ไม่ใช่มาจากงานสาธารณสุขโดยตรง เช่นข้อมูลทางด้านประชากร เศรษฐกิจ สังคม  และสิ่งแวดล้อม

ประเภทของระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพที่กระทรวงสาธารณสุขรวบรวบ  ได้แก่  
1.    ข้อมูลสถานะสุขภาพ  (Health  status)  
2.    ข้อมูลบริการสุขภาพ (Health services)
3.    ข้อมูลทรัพยากรสุขภาพ  (Health resources)
4.    ข้อมูลตามนโยบายยุทธศาสตร์ (Health strategy support)
5.    ข้อมูลสภาวะเศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อม

ระบบข้อมูลข่าวสารขององค์กร โครงสร้างกำลังเปลี่ยนแปลง

                ในยุคสมัยเมื่อยี่สิบปีที่แล้ว การประมวลผลข้อมูลข่าวสารในองค์กรส่วนใหญ่ใช้ระบบรวมศูนย์ (centralize) กล่าวคือ มีศูนย์คอมพิวเตอร์ขององค์กรเป็นสถานที่จัดการข้อมูลข่าวสาร ประมวลผลกับที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ การใช้คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่เป็นระบบมินิคอมพิวเตอร์หรือ เมนเฟรม ดังนั้นจึงมีใช้กันเฉพาะในองค์กรขนาดใหญ่เท่านั้น

                ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาพีซี ขีดความสามารถของพีซีสูงขึ้น การใช้งานในระดับส่วนตัวทำได้ดี เกิดการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล โดยเฉพาะงานที่ผู้ใช้เป็นผู้ดำเนินการเอง มีโปรแกรมสำเร็จรูปให้ใช้มากมาย

               หลังจากปี ค.ศ. 1990 เครือข่ายคอมพิวเตอร์เริ่มแพร่หลาย มีการนำคอมพิวเตอร์ระดับพีซีมาสร้างเป็นเครือข่าย ก่อให้เกิดการทำงานแบบรวมกลุ่ม หรือที่เรียกว่า เวอร์กกรุฟ และรวมหลายเวอร์กรุฟเรียกว่า Enterprise

               แนวคิดจึงมีลักษณะการกระจายฟังก์ชันการทำงานออกไป เริ่มมีการกระจายระบบเซิร์ฟเวอร์ไปยังหน่วยงานย่อยต่าง ๆ ให้แต่ละหน่วยงานย่อยมีระบบเครือข่ายแลนของตนเอง และเชื่อมโยงเครือข่ายแลนย่อยเข้าด้วยกันด้วยอุปกรณ์สื่อสารจำพวกสวิตชิ่งหรือเราเตอร์ เครือข่ายขององค์กรจึงเกิดขึ้น

               เมื่อเวลาผ่านไป การปรับเปลี่ยนระบบการใช้งานคอมพิวเตอร์ก็แปรเปลี่ยนไปด้วย มีเทคโนโลยีหลายอย่างที่เข้ามาทำให้องค์กรต่าง ๆ ต้องปรับเปลี่ยน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องโครงสร้างการประมวลผลระบบสารสนเทศในองค์กร

               ทั้งนี้เพราะเซิร์ฟเวอร์มีขนาดใหญ่ขึ้น มีประสิทธิภาพดี ขีดความสามารถของเซิร์ฟเวอร์จึงรองรับงานได้มากขึ้น แนวคิดในเรื่องการรวมข้อมูลไว้ในเซิร์ฟเวอร์กลางจึงเกิดขึ้น แต่ก็ยังกระจายฟังก์ชันการทำงาน โดยมีเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นเสมือนตัวเชื่อมการไหลกระแสข้อมูลข่าวสารในองค์กร อินทราเน็ตจึงเป็นระบบที่องค์กรสมัยใหม่เลือกนำมาใช้

              การทำงานแบบนี้พยายามตอบสนองผู้ใช้ในลักษณะกระจายหรือทำให้เกิดระบบที่เรียกว่า Mobile/Remote Work ก่อให้เกิดการทำงานแบบ Virtual Workplace ลักษระงานจึงมีลักษณะเป็นแบบลูกค้าเป็นจุดศูนย์กลาง หรือ Customer Centricity ลูกค้าสามารถรับบริการที่ใดก็ได้ ดังเช่นการใช้งานเอทีเอ็มของธนาคาร

               เทคโนโลยีเครือข่ายยังเป็นตัวเร่งทำให้ระบบอินทราเน็ตขององค์กรแพร่กระจายได้เร็ว ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์เข้ามาสนับสนุนผู้ใช้ในฐานะที่เป็น End User ได้มาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่เรียกว่า Web Technology

               เทคโนโลยีเว็บ ใช้เซิร์ฟเวอร์ที่รองรับระบบข้อมูลข่าวสารเป็นจำนวนมากและเชื่อมโยงเครือข่ายข่าวสารในองค์กรได้ดี การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารมีมาตรฐานที่ชัดเจนขึ้น ข้อมูล ข่าวสารที่เรียกดูบนเว็บใช้มาตรฐาน HTML ขณะเดียวกันมีการสร้างระบบเชื่อมโยงต่อกับระบบฐานข้อมูล เพื่อให้ผู้ใช้เรียกผ่านเข้าดูในลักษณะเว็บได้ ถนนหลายสายของการพัฒนาระบบข้อมูล ข่าวสารในองค์กรจึงเดินทางมาในรูปแบบที่ใช้เทคโนโลยีเว็บ

               แนวโน้มเทคโนโลยีที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ พีซีมีลักษณะเป็น Client ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น จนมีผู้กล่าวขนานนามว่า Fat Client การใช้งานพีซีจึงทำงานได้มาก จุดนี้เองเป็นแรงสำคัญที่ทำให้ผู้ใช้ส่วนใหญ่พึงพอใจ และเมื่ออยู่บนเครือข่ายขององค์กร แนวโน้มการทำงานแบบเวอร์กโฟลว์ก็เด่นชัดขึ้น

               ซอฟต์แวร์ของค่ายดังหลายแห่งทั้งไมโครซอฟต์ โลตัส ไอบีเอ็ม ต่างเน้นให้เกิดการทำงานแบบเวอร์กโฟล์วบนเครือข่าย ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ เช่น ออฟฟิส 97 โลตัสโน้ต (โดมิโน) แม้แต่ในระบบการพัฒนาฐานข้อมูลของค่ายดัง ทั้งโอราเคิล อินฟอร์มิกซ์ ไซเบส ฯลฯ ล้วนแล้วแต่สนับสนุนการทำงานแบบเวอร์กโฟล์วบนเครือข่าย ผู้ใช้สามารถใช้งานผ่านทางบราวเซอร์เพื่อดำเนินกิจกรรมการทำงานต่าง ๆ ของตนได้

               โมเดลขององค์กรในเรื่องการจัดการสารสนเทศจึงมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนไปตามกระแสเทคโนโลยีที่สำคัญคือ ระบบจะรวมศูนย์ในลักษณะการมองแบบการรวมทรัพยากรต่าง ๆ ให้เห็นเสมือนหนึ่งว่าทรัพยากรนั้นเป็นของรวมที่แบ่งกันใช้ ขณะเดียวกันก็กระจายการทำงาน กระจายการบริการ มีการทำงานเป็นกลุ่ม การทำงานระดับส่วนตัว แต่ก็ประสานรวมกับของทั้งองค์กรได้

               องค์กรสมัยใหม่จึงเริ่มปรับฐานด้วยการสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางระบบสื่อสารภายในองค์กรโดยเฉพาะเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบแลนพัฒนาระบบงานบนพื้นฐาน การเรียกเข้าหาจากเครือข่ายและที่สำคัญก็คือ ทุกองค์กรมุ่งมาตรฐานที่สามารถเชื่อมต่อกับโลกภายนอกได้ นั่นคือ TCP/IP หรืออินเทอร์เน็ต

              จากกรณีการพัฒนาขององค์การต่างๆที่พบเห็น บริษัท Gartner Group ได้สรุปผลไว้ว่า”องค์กรต่างๆได้แสวงหาวิธีการสมัยใหม่ ในอันที่จะลดต้นทุนของระบบสารสนเทศ โดยการปรับปรุงระบบภายในให้มีลักษณะเป็นแบบการรว ทรัพยากรข่าวสาร โดยมีเครือข่ายกระจายไปยังผู้ใช้เพื่อกระจายการบริการข่าวสาร”

โครงสร้างองค์กรกับระบบสารสนเทศ

               ปัจจุบันมีการกล่าวถึงวิธีการรื้อปรับระบบองค์กรใหม่ ในรูปแบบที่เรียกว่า business reinvention กล่าวคือ การปรับปรุงและสร้างค์องค์กรใหม่ โดยนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาปรับใช้ในองค์กรสารสนเทศเป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่ง เราแบ่งระดับสารสนเทศออกเป็น 4 ระดับคือ ระดับส่วนบุคคล ระดับกลุ่มหรือแผนก ระดับองค์กรและระดับระหว่างองค์กร โดยทุกระดับจะเกี่ยวข้องกับทรัพยากรที่จำเป็นต้องนำมาใช้เพื่อประกอบกัน และให้ได้ประโยชน์จากสารสนเทศ ประกอบด้วยอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ได้แก่ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสาร ซอฟต์แวร์ ข้อมูล ชั้นตอนการปฏิบัติงาน ได้แก่ กฏระเบียบต่าง ๆ และตัวบุคลากรเอง

               ศูนย์สารสนเทศขององค์กร คือหน่วยงานที่จะบริหารและจัดการทรัพยากรสารสนเทศ ที่ต้องลงทุนทั้ง 5 องค์ประกอบนี้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ศูนย์สารสนเทศขององค์กรตามแนวความคิดใหม่ จึงต้องประสานกับธรรมชาติของการทำงานขององค์กรที่มีบุคลากรเป็นแกนนำ เพราะบุคลากรทุกคนย่อมเป็นผู้ใช้สารสนเทศ และยังต้องมองเลยไปเป็นระดับกลุ่ม ระดับองค์กร และระดับระหว่างองค์กร การทำงานในทุกระดับจะต้องประสานการใช้ประโยชน์ให้เกิดกับองค์กรได้สูงสุด

ลักษณะและจุดมุ่งหมายของศูนย์สารสนเทศ

คอมพิวเตอร์มีการพัฒนาการมาจากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีราคาแพง โดยการใช้ประโยชน์จึงเริ่มจากการใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกันในอดีต มีศูนย์คอมพิวเตอร์กลาง ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาพีซี แนวคิดจึงเริ่มจากการพัฒฒนาให้ระบบใช้งานส่วนตัว และต่อมาพัฒนาเป็นเครือข่ายที่ทำงานร่วมกัน ดังนี้นลักษณะของการใช้ระบบคอมพิวเตอร์จึงมีลักษณะตามสภาพของการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของเทคโนโลยี โดยเฉพาะระบบคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารข้อมูล ระบบเครือข่าย รูปแบบการช้ระบบคอมพิวเตอร์จึงมีรูปแบบดังนี้

การใช้แบบเครื่องหลัก (Host base) ในยุคที่เครื่องคอมพิวเตอร์มีราคาแพง เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นเมนเฟรม ซึ่งมีการจัดการฐานข้อมูลอยู่ส่วนกลางและแบ่งการใช้งาน เครื่องคอมพิวเตอร์หลักเป็นเครื่องที่รวมทรัพยากรทั้งหมดไว้ที่ศูนย์กลาง ผู้ใช้เพียงแต่ต่อสายออนไลน์ และใช้กำลังการคำนวณทั้งหมดจากเครื่องหลัก สถานีปลายทางจึงเป็นเพียงแค่เทอร์มินัลเท่านั้น

รูปที่ 1 การใช้งานแบบเครื่องหลัก เพื่อเป็นการสนับสนุนข้อมูลข่าวสารขององค์กร

 การใช้งานแบบเครื่องเดี่ยว (stand alone)เมื่อมีการพัฒนาพีซีให้เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล จึงมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์สนับสนุนพีซีให้ช่วยงานระดับบุคคล ดังนั้นการประยุกต์ใช้งานระดับบุคคลจึงเป็นที่นิยมแพร่หลาย ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์พื้นฐนที่เรียกว่าโปรแกรมสำเร็จรูปให้ใช้งานได้มาก เช่น ใช้ช่วยในการพิมพ์เอกสารหรือเรียกว่า เวิร์ดโปรเซสเซอร์ ใช้คำนวณบนตารางที่เรียกว่า สเปรตซีต ใช้ในการเก็บข้อมูลในระบบฐานข้อมูลขนาดเล็ก ใช้เพื่อนำเสนอผลงาน

รูปที่ 2 เครื่องพีซีทำให้เกิดระบบการจัดการข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล

ระบบแลนและไคลแอนต์เซิร์ฟเวอร์ เมื่อพีซีมีขีดความสามารถสูงขึ้น ประกอบกับเทคโนโลยีได้พัฒนาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ให้เชื่อมโยงเข้าถึงกันและใช้งานร่วมกัน ระบบแลนที่ใช้จึงเริ่มจากการสนับสนุนงานระดับกลุ่มระดับแผนกที่มีการทำงานร่วมกัน ใช้ทรัพยากรบางอย่างร่วมกัน เช่น ใช้ไฟล์ใช้ข้อมูล ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ ตลอดจนเครื่องพิมพ์ร่วมกัน สภาพการทำงานบนเลนส่วนหนึ่งมีลักษณะการทำงานแบบ ไคลแอนต์เซิร์ฟเวอร์ กล่าวคือมีสถานีบริการกลางที่ให้บริการร่วมกันทั้งกลุ่ม โดยผู้ใช้จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีของตนเองเชื่อมโยงกับเครือข่ายแลน เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้เรียกว่า ไคลแอนด์ ส่วนสถานีบริการกลางเรียกว่า เซิร์ฟเวอร์ เช่น ถ้ามีระบบฐานข้อมูลกลางที่ให้บริการกลางร่วมกันก็เรียกว่า ดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ ผู้ใช้สามารถใช้เครื่องไคลแอนต์เรียกค้นข้อมูลข่าวสารจากเครื่องเซิร์ฟเวอร์ได ้รูปแบบการทำงานแบบนี้จึงเป็นการลดขนาดของเซิร์ฟเวอร์ลงจากโฮสเบส เพราะสถานีย่อยคือไคลแอนต์สามารถช่วยดำเนินการบางอย่างเองได้ และการทำงานในระดับไคลแอนต์ที่สำคัญคือ มีส่วนช่วยในการติดต่อกับผู้ใช้ที่จะแสดงผลแบบกราฟฟิก

รูปที่ 3 เครือข่ายแลนสนับสนุนการทำงานเป็นกลุ่ม

การเชื่อมต่อแลนเป็นอินทราเน็ต เมื่อนำเวอร์กกรุ๊ปหรือเครือข่ายแลนย่อย ๆ หลายเครือข่ายต่อเชื่อมกันเป็นเครือข่ายขององค์กร       มีเส้นทางการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารหลักที่เรียกว่าแบคโบน (backbone) เครือข่ายนี้จึงเป็นเครือข่ายที่สนับสนุนการ     ทำงานขององค์กร ซึ่งอาจเรียกว่าเอ็นเตอร์ไพรสเน็ตเวอร์กหรืออินทราเน็ต ในระดับองค์กรจึงมีการบริหารจัดการเครือข่ายขององค์กร มีหน่วยงานดูแลเครือข่ายกลาง และดูแลทรัพยากรที่สนับสนุนการใช้งานในองค์กร ลักษณะการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานอาจข้ามออกไปยังหน่วยงานที่อยู่ห่างไกล โดยเชื่อมต่อด้วยเครือข่ายสาธารณะแบบแวน (wan) สภาพการทำงานภายในองค์กรยังมีลักษณะการใช้ทรัพยากรร่วมกันมีสถานีบริการที่เรียกว่าเซิร์ฟเวอร์ ผู้ใช้ใช้พีซีที่ต่ออยู่บนเครือข่ายเชื่อมโยงเรียกใช้บริการเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ภายในองค์กรอาจมีฐานข้อมูลเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์กลางหรืออาจจะมีหลายเซิร์ฟเวอร์กระจายกันอยู่ก็ได้ ลักษณะการใช้งานบนเครือข่ายจึงสนับสนุนการทำงานตั้งแต่งานในระดับบุคคลที่ใช้พีซีของตนเองเป็นหลัก เชื่อมต่อใช้งานร่วมกันเป็นเครือข่ายในแผนก ในกลุ่มงานของตน ใช้สถานทีบริการเซิร์ฟเวอร์ในแผนกของตน และยังเชื่อมโยงกับองค์กรใช้งานในลักษณะร่วมกับส่วนกลางขององค์กร ดังนั้นทุกคนในองค์กรที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายจึงสามารถเลือกใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ข้อมูลข่าวสารทั้งของกลุ่มและขององค์กรได้

               เครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในองค์กรต้องเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ของแต่ละแผนกเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดการใช้ข้อมูลร่วมกัน นอกจากนี้ยังสามารถใช้ทรัพยากรฮาร์ดแวร์ร่วมกันได้อีกด้วย ในเชิงเทคนิคนั้นระบบสารสนเทศระดับองค์กรจะมีระบบคอมพิวเตอร์ที่ดูแลแฟ้มข้อมูลที่ใช้งานร่วมกันไว้ในไฟล์เซิร์ฟเวอร์ มีการใช้เครือข่ายแลนเชื่อมโยงเครื่องมือพื้นฐาน อีกประการหนึ่งของระบบข้อมูลข่าวสาร คือระบบจัดการฐานข้อมูล ซึ่งเป็นโปรแกรมที่สำคัญในการช่วยดูแลระบบข้อมูลและการประยุกต์ใช้งานด้านต่าง ๆ

รูปที่ 4 การใช้เครือข่ายเพื่อสนับสนุนการทำงานในองค์กร

การเชื่อมโยงระหว่างองค์กร การบริหารและการจัดการระบบสารสนเทศสมัยใหม่ ยังเน้นให้เกิดการทำงานแบบธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (eBusiness) และมีการค้าขายแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่าางองค์กรเพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกัน และการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน

การเชื่อมโยงระหว่างกันในปัจจุบัน เน้นการใช้เส้นทางร่วมแบบสาธารณะ เช่น ใช้อินเทอร์เน็ต ลักษณะการเชื่อมโยงออกสู่ภายนอก จึงมีลักษณะที่ต้องการสร้างวงจรเฉพาะการเชื่อมโยงระหว่างองค์กร หรือการวิ่งผ่านเส้นทางสาธารณะร่วมกัน

รูปที่ 5 การเชื่อมโยงระหว่างองค์กร

อินเทอร์เน็ตจึงเป็นเครือข่ายสากลที่เชื่อมโยงเครือข่ายย่อยขององค์กรจำนวนมหาศาลเข้าด้วยกัน ทำให้ทุกองค์กรที่เชื่อมโยงเข้าถึงอินเทอร์เน็ตติดต่อถึงกันได้ และหากถ้ามีองค์กรใดสร้างเครือข่ายและเชื่อมโยงต่อออกไปภายนอก โดยเน้นการทำงานในขอบเขตจำกัด เช่น ให้บริการลูกค้าติดต่อเข้ามาได้ และไม่สามารถออกไปนอกเครือข่ายอย่างอิสระเหมือนอินเทอร์เน็ต เราก็เรียกว่า เอ็กซ์ทราเน็ต

ศูนย์สารสนเทศกับองค์กร

ในองค์กรมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหลายระดับ ดังนั้นการจัดประเภทของศูนย์สารสนเทศ จึงต้องเน้นให้สนับสนุนการทำงานทุกระดับ ศูนย์สารสนเทศจึงมีลักษณะที่แบ่งตามประเภทการใช้งานดังนี้

  • ศูนย์สารสนเทศสนับสนุนการทำงานระดับกลุ่ม จากการใช้งานในระดับเวอร์กกรุ๊ป ที่มีการจัดการเซิร์ฟเวอร์ของตนเองภายในแผนกหรือกลุ่มจึงต้องรับผิดชอบงานทางด้านสารสนเทศของตนเอง เช่น งานแผนกบุคคล ต้องดูแลฐานข้อมูลพนักงานทั้งหมด ดูแลการดำเนินงานเพื่อการทำงานการเงินเดือน แผนกขายก็ต้องดูแลฐานข้อมูลลูกค้า ฐานข้อมูลสินค้าคงคลังของตนเอง การกระจายศูนย์สารสนเทศลงไป ในระดับกลุ่มทำให้มีความสะดวกในการปฏิบัติงาน สามารถดำเนินงานด้วยความคล่องตัว แต่มีปัญหาในเรื่องความซ้ำซ้อนของข้อมูลระหว่างกลุ่ม และยุ่งยากในเรื่องการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลข่าวสาร
  • ศูนย์สารสนเทศส่วนกลาง สืบเนื่องจากองค์กรมีการสร้างเครือข่ายหรือมีระบบข้อมูลข่าวสารร่วม ดังนี้ศูนย์สารนิเทศส่วนกลางจึงมีความจำเป็นที่จะทำให้ระบบการใช้ข้อมูล ข่าวสาร ในลักษณะการใช้งานร่วมกัน ทำให้สะดวกขึ้น และยังบริหารเครือข่ายหรือช่วยในเรื่องการติดต่อสื่อสารระหว่างองค์กร

ความสำเร็จอยู่ที่การจัดการโครงสร้างในองค์กร

รูปแบบการบริหารสารสนเทศในองค์กรจึงเป็นได้ ทั้งแบบรวมศูนย์เหมือนในอดีต แต่ในสภาพปัจจุบันความต้องการใช้สารสนเทศมีความหลากหลาย และมีความแตกต่างกันมาก ตั้งแต่ระดับส่วนตัวจนถึงระดับระหว่างองค์กร ดังนั้นความสำเร็จขององค์กรจึงอยู่ที่ การบริหารและการจัดการโครงสร้างสารสนเทศ ให้เหมาะสมกับสภาพการทำงานขององค์กร ซึ่งสามารถแยกกระจายตั้งแต่ระดับบุคคล ระดับกลุ่ม ระดับองค์กร และระหว่างองค์กร การเลือกสภาพที่เหมาะสมต่อการใช้งานจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

อ้างอิงจาก…http://www.school.net.th/library/snet1/network/it6.htm

http://www.tmi.or.th/index.php?option=com_content&task=view&id=152&Itemid=74

http://www.ku.ac.th/e-magazine/september43/information/

 

Hello world!

Welcome to WordPress.com. This is your first post. Edit or delete it and start blogging!